วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

รู้..เข้าใจ...โรคซึมเศร้า



‹โรคซึมเศร้า..ปัญหาสุขภาพจิตที่น่าเป็นห่วงย 
ย เราจะพบข่าวปัญหาการฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายร่างกาย เกิดขึ้นบ่อยๆ หลายกรณีเกิดจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแต่ผู้คนมองไม่เห็นปัญหาของมันยย  ทั้งที่โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย จะมีใครรู้บ้างว่าในประเทศไทยนั้นยย  โรคซึมเศร้าจัดเป็นปัญหาสุขภาพอันดับที่ 3 ในผู้หญิง และเป็นอันดับ 8 ในผู้ชาย โดยในปี 2557 ได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 12 ล้านคน พบมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึงยย  6 ล้านคน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายยย  6 แสนคนยย  ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้ายย  5 แสนคน
ย 
โรคซึมเศร้า..มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
สาเหตุของโรคเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1.ปัจจัยทางชีวภาพย เช่น พันธุกรรม หรือโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ สารเสพติดต่างๆยย  2.ปัจจัยด้านจิตสังคมและลักษณะนิสัยยย เช่น เป็นคนเครียดสูง มองตนเองในแง่ลบ หรือมองโลกในแง่ร้าย รวมทั้งความเครียดที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียดในครอบครัว การเจอกับเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง ความผิดหวัง ชีวิตโดดเดี่ยว สูญเสียคนที่รัก ตกงาน หย่าร้าง เป็นต้นย 
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า?
ย อาการสำคัญยย คือย อารมณ์เศร้า หดหู่ ร้องไห้ง่าย หรือรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจไม่สดชื่นเหมือนเดิม ซึ่งจะเป็นเกือบทั้งวัน และติดต่อกันเกือบทุกวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ประกอบกับ อาจมีความคิดอยากตายยย ยย วิธีสังเกตย ตัวเอง คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดว่าเข้าข่ายซึมเศร้าหรือไม่ย  ให้สังเกตถึงสิ่งต่อไปนี้ย
ย  1.ทางอารมณ์ย เช่น ซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุข กระวนกระวายยย
ย  2.ด้านความคิดยย เช่น มีความคิดไปในทางลบตลอดเวลา รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า คิดว่าไม่มีทางเยียวยาได้ จนทำให้มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง คิดถึงแต่เรื่องความตายย
3.พฤติกรรมยย เช่น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก รู้สึกอ่อนเพลีย การทำงานช้าลง การงานแย่ลง ไม่มีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลงย
ย  4.อาการทางกายยย เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือนอนมากเกินไป น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติยย  มีอาการทางกาย รักษาด้วยยาธรรมดาไม่หาย เช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ หรือทำให้การประกอบอาชีพ การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญบกพร่องลงอย่างชัดเจน
ทำอย่างไรเมื่อเป็นซึมเศร้า...รักษาได้หรือไม่?
หากตรวจสอบตัวเองและคนใกล้ชิดแล้ว พบว่า ในช่วงยย  1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีอาการดังกล่าว หรือยิ่งรู้สึกสิ้นหวังรุนแรง ให้หาทางระบายความคิดและความรู้สึกของตัวเองออกมากับคนใกล้ชิดที่ไว้ใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือได้ หรือพบจิตแพทย์ย
โปรดระลึกไว้เสมอว่าย “โรคซึมเศร้า..รักษาได้”ยย แต่ถ้าเป็นมากๆ แล้วไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ต่อเนื่องจะมีแนวโน้มสู่การฆ่าตัวตายได้สูง ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 60 วิธีรักษาคือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในรายที่มีอาการมาก เช่น มีความคิดฆ่าตัวตายยย  หรือรักษาโดยการใช้ยา รวมถึงการรักษาด้วยจิตบำบัด ซึ่งจะเป็นการปรับทัศนคติ ปรับเปลี่ยนมุมมองชีวิต และเมื่อเข้ารับการรักษาแล้วควรเข้าสู่กระบวนการที่รักษาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับใช้ชีวิตดังเดิมได้ ย 

เข้าใจโลกของผู้ป่วยซึมเศร้า
สิ่งสำคัญที่สุดคือยย ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยอย่ามองว่า อาการที่ผู้ป่วยแสดงออกมาเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยคิดหรือสร้างขึ้นมาเอง หรือคิดมองโลกในแง่ร้ายเองยย  หรือใช้คำพูดเช่น “ไม่สู้เอง”ย  “ทำไมไม่ดูแลตนเอง” “ไม่เห็นมีอะไรเลยทำไมถึงเศร้า” “เรื่องแค่นี้เองทำไมถึงอ่อนแอจัง”ย  เพราะจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยไม่กล้ายอมรับว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เพราะกลัวถูกมองว่าตนเองล้มเหลว หรืออ่อนแอ หรือเป็นความผิดของตนเองจึงไม่ยอมเข้ารักษากับจิตแพทย์ยย  แต่ควรเปิดใจรับฟังและพยายามหาทางช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ การรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยความเข้าใจ อดทน และห่วงใย ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวัง ชักชวนเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนใจ จะช่วยเป็นกำลังใจที่มีค่าต่อผู้ป่วยยย โดยสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรียย  24 ชั่วโมง หรือรีบพาพบจิตแพทย์ ขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ
ย 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น