ข้อมูลพื้นฐานตำบลอาซ่อง

ประวัติความเป็นมาของตำบลอาซ่อง

ตำบลอาซ่องหรือคำว่า “อาซ่อง” มาจากชื่อเจ้าพระยาอาซ่องซึ่งเป็นตำบลที่มีประวัติที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาโกตาบารู เลยเป็นตำนานที่เล่าสู่กันฟังของผู้เฒ่าคนแก่ ไม่มีการสิ้นสุด การศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานซึ่งเป็นที่ลำบากมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งสมันกำนันหะยีวาแม ลิแจ ทางอำเภอรามันได้ส่ง ให้ตำบลมีธงพร้อมเครื่องหมายหรือตราประจำตำบลแล้วจึงได้ทำ ธงสี่เหลี่ยมผื่นผ้า แต่รูปหรือตรานั้นเป็นลักษณะ พระราชวัง อยูตรงกลางธง แต่หลักฐานที่บ่งบอก พระราชวัง ไม่มีเลยจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าใหม่พร้อมได้หลักฐานและการบอกเล่าจากผู้เฒ่าคนแก่ประมาณ 4-5 ท่านว่าท่านเจ้าพระยาคูลูวอซี เจ้าพระยาคูลูวออะ และเจ้าพระยาอาซ่อง มาทำนา ทำสวน ทุกครั้งที่มาถึงจะลงจากช้างที่ต้นมะม่วงรือแม ใกล้แม่น้ำสายบุรี ต่อมาลงที่ต้นมะขามเปลือกบางและราษฎรในละแวกบ้านกำปงสือโตพร้อมเจ้าพระยาได้จักดำเนินสูงประมาณ 60 เซนติเมตรรอบ ๆ ต้นมะขามเป็นที่ขึ้นลง-ลงบนช้าง และเป็นที่รับเสด็จ การที่รับเสด็จบางครั้งต้องเตรียมขนมด้วยเพื่อมอบให้จ้าพระยา จึงสรุปได้ว่า สัญลักษณ์น่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาอาซ่อง คือ ขึ้น – ลง จากบนช้างคือต้นมะขามรอบ ๆ ต้นมะขามเป็นเนินวงกลมและที่ทำนาของเจ้าพระยาอาซ่อง ปัจจุบันสามารถที่จะไปศึกษาค้นคว้าได้

ตำบลอาซ่องตามตำนานที่เล่าสู่กันฟังว่า มีเจ้าพระยาที่มาจากโกตาบารู เพื่อมาทำนา และทำสวนทุเรียนที่หมู่บ้าน สือโต การเดินทางมาทำนาและส่วนทุเรียนของเจ้าพระยาในสมัยนั้นใช้ช้างเป็นพาหนะ และการมาของเจ้าพระยามาพร้อมขบวนกับญาติพี่น้องตลอดจนบริวาร เจ้าพระยาที่มาจากโกตาบารูมีหลานท่าน แต่ที่รู้จักเป็นการดีและเป็นที่รักนับถือของราษฎรบ้าน สือโต มีอยู่ 3 ท่าน  

  1. เจ้าพระยา ชื่อ คูลูวอซี
  2. เจ้าพระยา ชื่อ คูลูวออะ
  3. เจ้าพระยา ชื่อ อาซ่อง

ซึ่งเจ้าพระยาทั้ง 3 ท่านนี้ได้สร้างความเจริญแก่ชุมชนหมู่บ้านสือโตแห่งนี้ และได้มีการปกครองเป็นตำบล จึงได้ตั้งชื่อตำบลนี้ว่า “อาซ่อง” เป็นชื่อของเจ้าพระยาคนที่ 3 ที่ชื่อว่าจ้า
พระยาอาซ่อง


ที่ตั้งสภาพภูมิ

           ตามสภาพภูมิศาสตร์ ตำบลอาซ่องตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ห่างจากตัวเมืองอำเภอรามันประมาณ 5 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดยะลา ประมาณ 35 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 26,829 ไร่ ประชากรใน พ.ศ. 2548 มีประมาณ 5,202 คน

ตำบลอาซ่องเมื่อปีพุทธศักราช 2540 ตามพระราชบัญญัติปกครองส่วนท้องถิ่นได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน คือ

1. หมู่ที่ 1 บ้านกือเม็ง แลพบ้านตะโละสดาร์
2. หมู่ที่ 2 บ้านแยะ บ้านกาปงกูมุง
3. หมู่ที่ 3 บ้านบูเกะบือราแง และส่วนตานี
4. หมูที่ 4 บ้านเจาะลีมัส และบ้านฮูยงลาโม๊ะ
5. หมู่ที่ 5 บ้านสะโต บ้านกำปงบาโง บ้านบูเกะซืองอ บ้านปายอแง บ้านกำปงบารู และบ้านกูโบฆาเยาะ
6. หมู่ที่ 6 บ้านบูเกะลาโม๊ะ


อาณาเขตติดต่อ
          ทิศเหนือ  ติดต่อกับอำเภอยะรัง  อำเภอทุ่งยางแดง  และอำเภอกะพ้อ (จังหวัดปัตตานี)
          ทิศตะวันออก  ติดต่อกับอำเภอบาเจาะ  และอำเภอรือเสาะ (จังหวัดนราธิวาส)
          ทิศใต้  ติดต่อกับอำเภอรือเสาะ(จังหวัดนราธิวาส) และอำเภอบันนังสตา
          ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภอบันนังสตา  อำเภอกรงปินัง  และอำเภอเมืองยะลา


การปกครอง

          ประกอบด้วย 1  ตำบล  6  หมู่บ้าน  ร่วมทั้งตำบล 14 ชุมชน  1,034 หลังคาเรือน ประกอบด้วย รพ.สต 1 แห่ง , อบต. 1 แห่ง , โรงเรียน 4 แห่ง , สถาบันปอเน๊าะ 2 แห่ง , มัสยิด 9 แห่ง
ศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง


ประชากร

ตำบลอาซ่อง มีจำนวนประชากร ณ. 30  พฤษภาคม 2556    รวมทั้งสิ้น  91,519 คน  มีจำนวน 15,718  หลังคาเรือน  และมีจำนวน17,886  ครอบครัว  ความหนาแน่นของประชากร 177 คน/ตร.กม.  เนื้อที่/พื้นที่        516.031  ตร.กม.


สภาพภูมิอากาศ

โดยทั่วไป ฤดูร้อน และฤดูฝน


ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ 

สภาพทางเศรษฐกิจ และประเพณี วัฒนธรรม มีการเพาะปลูก การทำนา และการเลี้ยงสัตว์ ประเพณีและวัฒนธรรม มีพิธีการเข้าสุนัจ พิธีการแต่งงาน พิธีการขึ้นบ้านใหม่ และพิธีที่สืบทอดกันมามี ซีละ ดีเกฮูลู การจัดพิธีกะดูรี ทำศาลาจำลองพร้อมกับปล่อยลูกไก่ที่ทุ่งนาอาซ่องเพื่อเป็นสิริมงคล ในสมัยกำนันที่สองและที่หก และปัจจุบันทะเฉพาะข้าวเหนียวกือดูรีและละหมาดฮาหยัดปีละ 1 ครั้งเพื่อเป็นสิริมงคลในการทำนา และตำบลให้อยู่ดีมีสุข

             อาชีพหลัก ได้แก่  เกษตรกรรม
             อาชีพเสริม ได้แก่  รับจ้าง
           
ด้านสังคม 
             โรงเรียนมัธยม ได้แก่  โรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์
             วิทยาลัยการอาชีพรามัน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
            มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ  ได้แก่  ป่าไม้ แร่ธาตุ

ด้านการคมนาคม 
ตำบลอาซ่องมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อ 6 บ้าน

  1. ถนนสายอำเภอรามัน – อำเภอมายอ ผ่านหมู่ที่ 1,2,5 ไปอำเภอมายอจังหวัดปัตตานี
  2. ถนาสายบ้านกือเม็ง – เจาะลีมัส ผ่านพื้นที่ 1,3 – หมู่ที่ 4
  3. ถนนบ้านกาบู – บ้านซาเมาะ ผ่านหมู่ที่ 4 บ้านเจาะลีมัส
  4. ถนนบ้านสะโต – บ้านบูเกะบือราแง ผ่านหมู่ที่ 6 – หมู่ที่ 3
  5. ถนนบ้านแยะ - บ้านบูเกะบือราแง

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม 
            ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่  ยางพารา ทุเรียน ลองกอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น