สร้างเกราะให้ลูกน้อยด้วยวัคซีน

ลูกน้อยได้รับวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ไม่ให้ได้รับการติดเชื้อต่างๆ ลูกน้อยควรเริ่มรับวันซีนตั้งแต่แรกเกิด และรับต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่ควรได้รับ..

ลดเค็มครึ่งหนึ่ง ยีดอายุได้

อาหารหลักจากธรรมชาติ จะมีปริมาณโซเดียม 350-450 มิลลิกรัม/วัน ดังนั้นเราจึงเติมเครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ ได้ประมาณ 1,650- 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือคิดเป็นเกลือป่น เติมได้ไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน

เสริมความฉลาดให้ลูก ด้วยไอโอดีน

จากการสำรวจปี 52 พบว่าเด็กไทยไอคิวต่ำลง เฉลี่ยที่ 91 จุด ถือว่าต่ำมาก ซึ่งตามมาตรฐานสากลไอคิวอยู่ที่ 90-110 จุด สาเหตุสำคัญ WHO และ UNICEF สรุปตรงกันว่า คนไทยหรือเด็กไทยขาดไอโอดีน

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

รู้..เข้าใจ...โรคซึมเศร้า



‹โรคซึมเศร้า..ปัญหาสุขภาพจิตที่น่าเป็นห่วงย 
ย เราจะพบข่าวปัญหาการฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายร่างกาย เกิดขึ้นบ่อยๆ หลายกรณีเกิดจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแต่ผู้คนมองไม่เห็นปัญหาของมันยย  ทั้งที่โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย จะมีใครรู้บ้างว่าในประเทศไทยนั้นยย  โรคซึมเศร้าจัดเป็นปัญหาสุขภาพอันดับที่ 3 ในผู้หญิง และเป็นอันดับ 8 ในผู้ชาย โดยในปี 2557 ได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 12 ล้านคน พบมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึงยย  6 ล้านคน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายยย  6 แสนคนยย  ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้ายย  5 แสนคน
ย 
โรคซึมเศร้า..มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
สาเหตุของโรคเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1.ปัจจัยทางชีวภาพย เช่น พันธุกรรม หรือโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ สารเสพติดต่างๆยย  2.ปัจจัยด้านจิตสังคมและลักษณะนิสัยยย เช่น เป็นคนเครียดสูง มองตนเองในแง่ลบ หรือมองโลกในแง่ร้าย รวมทั้งความเครียดที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียดในครอบครัว การเจอกับเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง ความผิดหวัง ชีวิตโดดเดี่ยว สูญเสียคนที่รัก ตกงาน หย่าร้าง เป็นต้นย 
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า?
ย อาการสำคัญยย คือย อารมณ์เศร้า หดหู่ ร้องไห้ง่าย หรือรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจไม่สดชื่นเหมือนเดิม ซึ่งจะเป็นเกือบทั้งวัน และติดต่อกันเกือบทุกวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ประกอบกับ อาจมีความคิดอยากตายยย ยย วิธีสังเกตย ตัวเอง คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดว่าเข้าข่ายซึมเศร้าหรือไม่ย  ให้สังเกตถึงสิ่งต่อไปนี้ย
ย  1.ทางอารมณ์ย เช่น ซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุข กระวนกระวายยย
ย  2.ด้านความคิดยย เช่น มีความคิดไปในทางลบตลอดเวลา รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า คิดว่าไม่มีทางเยียวยาได้ จนทำให้มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง คิดถึงแต่เรื่องความตายย
3.พฤติกรรมยย เช่น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก รู้สึกอ่อนเพลีย การทำงานช้าลง การงานแย่ลง ไม่มีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลงย
ย  4.อาการทางกายยย เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือนอนมากเกินไป น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติยย  มีอาการทางกาย รักษาด้วยยาธรรมดาไม่หาย เช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ หรือทำให้การประกอบอาชีพ การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญบกพร่องลงอย่างชัดเจน
ทำอย่างไรเมื่อเป็นซึมเศร้า...รักษาได้หรือไม่?
หากตรวจสอบตัวเองและคนใกล้ชิดแล้ว พบว่า ในช่วงยย  1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีอาการดังกล่าว หรือยิ่งรู้สึกสิ้นหวังรุนแรง ให้หาทางระบายความคิดและความรู้สึกของตัวเองออกมากับคนใกล้ชิดที่ไว้ใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือได้ หรือพบจิตแพทย์ย
โปรดระลึกไว้เสมอว่าย “โรคซึมเศร้า..รักษาได้”ยย แต่ถ้าเป็นมากๆ แล้วไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ต่อเนื่องจะมีแนวโน้มสู่การฆ่าตัวตายได้สูง ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 60 วิธีรักษาคือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในรายที่มีอาการมาก เช่น มีความคิดฆ่าตัวตายยย  หรือรักษาโดยการใช้ยา รวมถึงการรักษาด้วยจิตบำบัด ซึ่งจะเป็นการปรับทัศนคติ ปรับเปลี่ยนมุมมองชีวิต และเมื่อเข้ารับการรักษาแล้วควรเข้าสู่กระบวนการที่รักษาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับใช้ชีวิตดังเดิมได้ ย 

เข้าใจโลกของผู้ป่วยซึมเศร้า
สิ่งสำคัญที่สุดคือยย ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยอย่ามองว่า อาการที่ผู้ป่วยแสดงออกมาเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยคิดหรือสร้างขึ้นมาเอง หรือคิดมองโลกในแง่ร้ายเองยย  หรือใช้คำพูดเช่น “ไม่สู้เอง”ย  “ทำไมไม่ดูแลตนเอง” “ไม่เห็นมีอะไรเลยทำไมถึงเศร้า” “เรื่องแค่นี้เองทำไมถึงอ่อนแอจัง”ย  เพราะจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยไม่กล้ายอมรับว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เพราะกลัวถูกมองว่าตนเองล้มเหลว หรืออ่อนแอ หรือเป็นความผิดของตนเองจึงไม่ยอมเข้ารักษากับจิตแพทย์ยย  แต่ควรเปิดใจรับฟังและพยายามหาทางช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ การรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยความเข้าใจ อดทน และห่วงใย ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวัง ชักชวนเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนใจ จะช่วยเป็นกำลังใจที่มีค่าต่อผู้ป่วยยย โดยสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรียย  24 ชั่วโมง หรือรีบพาพบจิตแพทย์ ขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ
ย 

ครั้งแรกของโลกทีมวิจัยม.มหิดลสร้างแอนติบอดีรักษาไข้เลือดออก

ครั้งแรกของโลก ทีมวิจัยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล สร้างแอนติบอดีจากมนุษย์สำหรับรักษาไข้เลือดออก ระบุทีมวิจัยฯ คว้ารางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นดีเด่นปี 59 จาก วช. พร้อมเข้ารับรางวัล 2 ก.พ.นี้ ที่ไบเทค บางนา
 
          รศ.นสพ.ดร.พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยแอนติบอดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า 2 ใน 5 ของประชากรโลกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกี และพบว่าประชากรประมาณ 100 ล้านคนทั่วโลกติดเชื้อไวรัส เดงกี ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยจำนวนถึง 5 แสนคน ที่เป็นโรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง ที่ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตถึง 2 หมื่นคนต่อปี ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกยังไม่มียาหรือวัคซีนเฉพาะ การรักษาโรคไข้เลือดออกยังต้องใช้การรักษาตามอาการ
 
          ทีมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยแอนติบอดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในโลกในการสร้างแอนติบอดีจากมนุษย์ (NhuMAb) โดยคัดเลือกจากเซลล์ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกระยะเฉียบพลัน และผู้ป่วยระยะฟื้นไข้ เป็นแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งไวรัสไข้เลือดออกเดงกีได้ครบทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้ทดสอบในหนู และ ลิง พบว่า NhuMAb สามารถเพิ่มการรอดชีวิตของหนู และสามารถทำลายไวรัสไข้เลือดออกเดงกีในกระแสเลือดของลิงได้หมดภายใน 2 วัน โดยได้ดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่ปี 2552 จดสิทธิบัตรมาแล้วใน 10 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาให้ใช้ได้ในมนุษย์ คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงภายในระยะเวลาอันใกล้นี้
 
          รศ.นสพ.ดร.พงศ์ราม กล่าวอีกว่า NhuMAb ที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นประโยชน์กับการรักษาโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างมาก เพราะยังคงไม่มียารักษาเฉพาะ รวมทั้งใช้ลดความรุนแรงของอาการป่วยจากไข้เลือดออกได้ NhuMAb จึงเป็นอีกหนทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วโลกที่ต้องการได้ยารักษาและไม่อยากป่วยเป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรง โดยทีมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยแอนติบอดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้ารับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น ประจำปี 2559 ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงานวันนักประดิษฐ์ 2 กุมภาพันธ์ 2559 จัดที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา  กรุงเทพฯ
 
 

สธ. เร่งค้นหาและจัดระบบดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียง 1,092 ตำบล

กระทรวงสาธารณสุข เตรียมพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน เร่งค้นหาผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงใน 1,092 ตำบลเป้าหมาย เฉพาะที่ภาคอีสาน คัดกรองใน 370 ตำบล คาดว่าจะมีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ร้อยละ 10-15 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในภาคอีสาน
 
วันนี้ (25 มกราคม 2559) ที่โรงแรมพูลแมน จ.ขอนแก่น ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  เปิดประชุมพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงาน โครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” โดยมีผู้บริหารจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และผู้รับผิดชอบงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ทั้งในระดับเขต จังหวัด และพื้นที่ และเครือข่าย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20จังหวัด จำนวนประมาณ 1,200 คน ร่วมประชุม
 
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ภายในปี 2568 นี้ จะมีผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือจะมีผู้สูงอายุ 1 คนในประชากรทุก 5 คน การจัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล (Long Term Care) จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การบูรณาการ 5กลุ่มวัยในตำบลจัดการสุขภาพ ซึ่งในปี 2559 รัฐบาลให้ความสำคัญการดูแลผู้สูงอายุ ได้อนุมัติงบประมาณ 600 ล้านบาท มีเป้าหมายดำเนินการใน 1,092 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 100,000 คน สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีการดำเนินการคัดกรองผู้สูงอายุใน 370 ตำบล คาดว่าจะเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงประมาณร้อยละ 10 -15 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
 
          สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข กำลังเร่งดำเนินการมีดังนี้ 1.ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ค้นหากลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในตำบลเป้าหมาย ให้แล้วเสร็จพร้อมส่งข้อมูลให้ศูนย์อนามัย กรมอนามัยภายใน 31มกราคมนี้ 2.จัดการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) หลักสูตร 70 ชม. ให้เสร็จใน 28 กุมภาพันธ์นี้  โดยในระยะเร่งด่วนนี้ได้จัดอบรม 2 วัน  และอบรมต่อให้ครบตามหลักสูตรต่อไป เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ตำบลละไม่น้อยกว่า 10 คน ในตำบลพื้นที่เป้าหมาย  กำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนจะดูแลผู้สูงอายุ 10 คน 3.ส่งเสริมให้คนในครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เป็น อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อีกด้วย เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมต่อเนื่อง 4.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คัดเลือกผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) จำนวน 1 คนดูแลรับผิดชอบ 1 ตำบล ทำหน้าที่วางแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล และเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงต่อไป
 
ทั้งนี้ การดำเนินงานทั้งหมด จะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี เป็นประธาน คณะกรรมการกองทุนตำบล เป็นต้น  เพื่อให้ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลบริการที่ดีมีคุณภาพมาตรฐานจากอาสาสมัครประจำครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ และทีมหมอครอบครัวโดยในปี 2561 จะขยายให้ครอบคลุมครบทุกตำบล 100 เปอร์เซ็นต์       
         
       ************************ 25 มกราคม 2559
 

รายงานข่าวโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส

รายงานข่าวโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส
(Middle East Respiratory Syndrome : MERS )ประจำวันที่ 26 มกราคม 2559

*********************


1.สถานการณ์ วันที่ 26 มกราคม 2559
1.พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศ ราย เป็นชาย อายุ 71 ปี ชาวตะวันออกกลาง
2.มีรายงานผู้สัมผัสผู้ป่วยเสี่ยงสูง 40 คน อยู่ในสถานที่ที่เตรียมไว้รองรับสังเกตอาการ 33 คน       
3.สถานการณ์ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันที่ 26 มกราคม 2559 องค์การอนามัยโลก พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,626 ราย เสียชีวิต 586 ราย ใน 26 ประเทศ
4.ขออย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง และโปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข หากมีข้อสงสัย โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
2. สธ. นำผู้สัมผัสโรคเสี่ยงสูงเข้าดูแลสังเกตอาการเพิ่มเติมที่สถาบันบำราศฯอีก 1 รายเป็นนักท่องเที่ยว ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นลบทุกราย
นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์สที่นอนพักรักษาตัวที่สถาบันบำราศนราดูร  ในวันนี้อาการยังทรงตัว  ไม่มีไข้ ไอเล็กน้อย ให้ออกซิเจนเช่นเดิม รับประทานอาหารได้ ลุกเดินเข้าห้องน้ำได้ ยังพักรักษาตัวในห้องแยกโรคเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เมื่อเย็นวานนี้ (25 มกราคม 2559) ทีมสวบสวนโรคได้สอบสวนพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพิ่มอีก 1 ราย นำมาสังเกตอาการเพิ่มเติมอีกที่สถาบันบำราศฯ เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
สำหรับการสอบสวนและติดตามผู้สัมผัสโรคเสี่ยงสูง ประกอบด้วย ผู้โดยสาร 22 คน (เป็นคนไทย คน ชาวต่างชาติ 18 คน) คนขับแท็กซี่ คน พนักงานโรงแรม คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 11 คน ญาติ คน  ติดตามตัวได้ 33 คน ที่เหลืออยู่ระหว่างการติดตามโดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสถานฑูตและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นๆ คาดว่าจะนำตัวผู้สัมผัสโรคเสี่ยงสูงที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทุกคน รับไว้สังเกตอาการที่สถานที่เตรียมไว้รองรับ ขณะนี้อยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร  9  คน เป็นญาติ คน คนขับแท็กซี่ คน ผู้ร่วมเดินทางคนไทย คน และชาวโอมาน คน ทุกคนสบายดี ส่วนผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้รายชื่อและดำเนินการติดตาม แนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่น และติดตามกับเจ้าหน้าที่ทุกวันจนครบ 14 วัน
3. สรุปผลการให้บริการสายด่วน1422 ปรึกษาประชาชนเรื่อง โรคเมอร์ส
ในรอบ 24 ชั่วโมง วันที่ 25 มกราคม 2559 มีผู้โทรสอบถาม สายด่วน กรมควบคุมโรค รวม 41 ราย เป็นเรื่องโรคเมอร์ส 11 สาย  คำถามที่ถามมากที่สุด คือ พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเมอร์ส พื้นที่และขอบเขตการเฝ้าระวังโรคเมอร์ส อาการผู้ป่วยโรคเมอร์ส และความรู้เรื่องโรคเมอร์ส
4. ข้อแนะนำประจำวันในการป้องกันตนเองจากโรคเมอร์ส
1. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอหรือจาม
2. ปฏิบัติตามสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่
3. ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่น เมื่อไอหรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปากและจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิดและล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมแจ้งความเสี่ยงที่อาจสัมผัสโรค เช่น เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สงสัยโรคเมอร์ส

  ************************************ 26 มกราคม 2559

ปลัด สธ. นำผู้บริหารทั่วประเทศ ดูงาน คลินิกชะลอไตเสื่อมต้นแบบของประเทศ “คลองขลุงโมเดล”

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้บริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ศึกษาดูงาน คลินิกชะลอไตเสื่อม “คลองขลุงโมเดล” นวัตกรรมต้นแบบของประเทศไทย ชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ภายใต้การดูแลของสหวิชาชีพ ด้วยอาหาร การออกกำลังกายและการใช้ยาที่เหมาะสม เพื่อช่วยยืดเวลาไตวายจนต้องล้างไตออกไปได้อีก 7 ปี ช่วยประหยัดค่าล้างไตทั่วประเทศปีละนับหมื่นล้านบาท
วันนี้ (26 มกราคม 2559) นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้บริหารจากส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ  เยี่ยมชมการดำเนินงาน  คลินิกชะลอไตเสื่อม “คลองขลุงโมเดล” อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร ที่เป็นต้นแบบความสำเร็จในการชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของทีมสหวิชาชีพ โดยแนะนำด้านอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาที่เหมาะสม   เพื่อช่วยยืดเวลาไตเสื่อมไปได้อีก  7  ปี   ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการล้างไตที่สูงกว่า  5-6  พันล้านต่อปี ในผู้ป่วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีแนวโน้มจะสูงมากขึ้นไปเรื่อยๆ    เพื่อนำรูปแบบไปขับเคลื่อนภายในแต่ละเขตสุขภาพต่อไป ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตแบบเข้มข้น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการล้างไตในผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาทั่วประเทศ ได้ปีละนับหมื่นล้านบาท
 
ข้อมูลจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายประมาณ  2  แสนคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มปีละประมาณ  1 หมื่นคน สำหรับสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง ร้อยละ 36.6 มาจากโรคเบาหวาน  ร้อยละ 26.8 มาจากโรคความดันโลหิตสูง ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 22.8   สำหรับจังหวัดกำแพงเพชร มีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 2 หมื่นคน มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นปีละ 15-20 เปอร์เซ็นต์ มีบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 382 คน เป็นผู้ป่วยฟอกเลือดฉุกเฉิน 216 คน ล้างไตทางหน้าท้อง 382 คน ซึ่งผู้ป่วยโรคไต 1 คนค่าใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 3 หมื่นบาทต่อเดือน ที่สำคัญคือคุณภาพชีวิตต่ำลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงได้เกิดนวตกรรม “คลองขลุงโมเดล” จากการสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุขและสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์เป็นคลินิกโรคไตเรื้อรังแบบบูรณาการ มีทีมสหวิชาชีพได้แก่ พยาบาล ประเมินอาการ บันทึกข้อมูล ดัชนีมวลกายรอบเอว แพทย์รักษาเพื่อให้ได้เป้าหมายตามคำแนวทางการรักษา เภสัชกรตรวจสอบวิธีการใช้ยาและปรับตามค่าความเสื่อมของไต  สอนอ่านฉลาก   หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAID)  โภชนากร/นักกําหนดอาหาร สอนการรับประทานอาหารสําหรับโรคไต อาหารโปรตีนตํ่า อาหารลดเค็ม
 
นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งละ 3-5 ท่าน ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังร่วมกับ อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบ ด้วยบันได 4 ขั้น ป้องกันโรคไต ประกอบด้วย  1. ประเมินการรับประทานอาหารผู้ป่วย บันทึกรายการอาหารและให้คําแนะนําการปรุงอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง  2. วัดความดันโลหิต เก็บข้อมูล 3. ตรวจสอบการใช้ยา 4. ติดตามการออกกําลังกาย  ผลการศึกษาพบความเสื่อมของไต ลดลงช้ากว่าอัตราการเสื่อมปกติของไต  ช่วยยืดเวลาล้างไตออกไปได้จากเดิม 7 ปี ออกไปเป็น 14 ปี  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในผู้ที่ต้องล้างไตที่มีประมาณ 1,000 คน โดยค่าล้างไตประมาณ200,000 บาท ต่อคน ต่อปี ช่วยลดค่าล้างไต 200 ล้านบาท ต่อปี  
****************************************  26 มกราคม 2559

เจ้าหนา้ที่รพ.สต.อาซ่อง เป็นวิทยากรเรื่องจิตวิทยาการดูเเลเด็ก3-6ปี ณ.โรงเรียนบ้านกือเม็ง

ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องจิตวิทยาการดูเเลเด็ก3-6ปี ณ.โรงเรียนบ้านกือเม็ง สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษายะลาเขต1  26/01/2559 โดยมีเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล1-2 เเละผู้ปกครองนักเรียน








วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

รณรงค์ยอดวัคซีนโปลิโอครั้งที่ 2

รณรงค์ยอดวัคซีนโปลิโอครั้งที่ 2






ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โดย นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 21 มกราคม 2559

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
โดย นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค
ณ วันที่ 21 มกราคม 2559
*************************
 1. จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1-19 มกราคม2559 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ 2,380 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 31.4 แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันมีการระบาดในกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะนักเรียนไปจนถึงวัยทำงาน จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยต่อแสนประชากรสูง 5 อันดับแรก ได้แก่ นครปฐม ภูเก็ต พิจิตร ศรีสะเกษ และสงขลา (สถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั้งปี พ.ศ. 2558 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ 142,925ราย เสียชีวิต 141 ราย)

2. ผลการวิเคราะห์และพยากรณ์โรคไข้เลือดออก คาดว่าปี พ.ศ. 2559 จะมีผู้ป่วยประมาณ 166,000 ราย โดยจะพบผู้ป่วย 5,000-7,500 รายต่อเดือน และสูงขึ้นในฤดูฝนช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค. อาจมากกว่า 25,000 รายต่อเดือน อำเภอที่เสี่ยงต่อการระบาดสูงทั้งสิ้น 228 อำเภอ ใน 56 จังหวัด กระจายอยู่ทุกภาค

3. อาการหรือสัญญาณอันตรายของไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้สูงลอยเกิน 2 วัน ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร อาเจียน เมื่อกินยาลดไข้แล้วไข้มักจะไม่ลดลง หรืออาจลดลงชั่วคราวแล้วกลับมาสูงอีก

4. วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในช่วงการเริ่มทดลองใช้ และกำลังขออนุญาตจาก อย. โรคนี้ไม่มียารักษาเฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประครอง ดังนั้น การเฝ้าสังเกตอาการจึงมีความสำคัญ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ได้แก่ ไข้สูงติดต่อกัน 2 วัน ไข้ไม่ลด ซึม อาเจียน กินอาหารไม่ได้ และมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ให้รีบมาพบแพทย์ โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด และในกลุ่มเสี่ยง เช่น คนอ้วน ผู้ที่มีโรคประจำตัว หญิงมีประจำเดือน ผู้สูงอายุ หรือเด็กเล็ก ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

5. หากมีไข้สูง อย่าซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิด แม้มีฤทธิ์ในการลดไข้ได้ดี แต่ตัวยาเองมีฤทธิ์ทำให้เลือดออกได้ง่าย ยาลดไข้ที่ใช้ คือ ยาพาราเซตามอลเท่านั้น ต้องรีบไปพบแพทย์

6. ยุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นยุงที่อยู่ในบ้าน อาศัยอยู่ในบ้าน ในสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน ดังนั้นวิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคไข้เลือดออก คือ หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด กำจัดยุงตัวแก่และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและรอบบ้าน โดยหมั่นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

7. การป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ วิธีการลดจำนวนตัวยุงลายตัวแก่อย่างได้ผลดีที่สุด  คือ 3 เก็บ ได้แก่ 1) เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย โปรดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบให้เป็นที่เกาะพักของยุง 2) เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบๆ บ้าน ที่ทิ้งไว้ แม้กระทั่ง ใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ 3) เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่

8. การป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทายากันยุง กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือวิธีป้องกันยุงโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

9.  กรมควบคุมโรคได้สำรวจทัศนคติความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ ดีดีซีโพล (DDC Poll) เรื่อง “โรคไข้เลือดออก” จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3,024 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 25 จังหวัด ในเดือนพฤศจิกายน 2558 พบว่า ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยร้อยละ 98.8 รับรู้ว่าลูกน้ำยุงลายเป็นพาหะไข้เลือดออก, ร้อยละ 97.4 รู้ว่าผู้ใหญ่สามารถป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้ รวมถึงหากมีอาการไข้สูงลอย ซึม เบื่ออาหาร มีจุดเลือดออกตามแขนขา (อาการของโรคไข้เลือดออก) ร้อยละ 96.9  ตอบว่าควรรีบไปพบแพทย์  มีเพียงร้อยละ 0.8 ที่ตอบว่าปล่อยให้หายเอง สำหรับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนยังอยู่ในระดับระดับปานกลาง ซึ่งเห็นได้จากวิธีการจัดการลูกน้ำยุงลายในชีวิตประจำวันปฏิบัติเป็นประจำ เช่น การปิดฝาโอ่งหรือถังน้ำเพื่อป้องกันยุงลงไปวางไข่มีประชาชนเพียงร้อยละ 33.6, การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำมีเพียงร้อยละ 24.3 ส่วนการเปลี่ยนน้ำในแจกันมีเพียง ร้อยละ 40
*** รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 41.5 ยังมีความคิดเห็นว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรเป็นกำลังหลัก ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก***

10. ทั้งนี้ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง